หัวข้อที่เกี่ยวขอ้ง

ชนบท>ปลาน้ำจืดไทย กับวิถีชีวิตไทย
คลิ๊กตามหัวข้อเลยนะครับ
ดูสาระต่างอีกมากมายที่ชนบท

แนวทางการเลี้ยงปลาน้ำจืดแบบเศรษฐกิจพอเพียง(ทหารกับการพัฒนา)



กอง อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) ภาค 4 ส่วนหน้า นำคณะเจ้าหน้าที่ออกไปพบปะประชาชนและนักเรียน ในพื้นที่ตำบลในเตา อำเภอห้วยยอด เพื่อแนะนำความรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำรัสในหลวง
เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2552 พ.อ.จุลเดช จิตถวิล หัวหน้าศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจ
พอเพียง กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) ภาค 4 ส่วนหน้า ได้นำคณะเจ้าหน้าที่ในสังกัด พร้อมด้วยทหารจากกองพันทหารราบที่ 4 กองร้อยทหารราบที่ 15 ค่ายพระยารัษฎานุประดิษฐ์ จังหวัดตรัง ออกไปพบปะประชาชนและนักเรียน ในพื้นที่ตำบลในเตา อำเภอห้วยยอด เพื่อแนะนำความรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระองค์ทรงตระหนักว่า อาชีพหลักของประชาชนชาวไทย คือ อาชีพทางด้านการเกษตร เนื่องจากสภาพภูมิอากาศ และภูมิประเทศที่มีความเหมาะสมกว่าอาชีพอื่น
นอก จากนั้น โครงการเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพร
ะเจ้าอยู่หัว ยังเป็นการช่วยให้ประชาชนรู้จักอดออม ช่วยเหลือตนเอง และพออยู่พอกิน ด้วยการทำเกษตรกรรมแบบผสมผสานในการหาเลี้ยงตนเองและครอบครัวโดยการพึ่งพาตน เอง ซึ่งกำลังทหารจากศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ได้ให้ความรู้กับชาวบ้านในการทำปุ๋ยชีวภาพ เพื่อเป็นการลดต้นทุนในการซื้อปุ๋ยเคมี นอกจากนี้ ยังมีการให้ความรู้ในเรื่องของการเลี้ยงปลาในบ่อพลาสติก การเลี้ยงกบในบ่อเล็ก การเลี้ยงไก่พื้นเมือง และการปลูกพืชผักสวนครัวรอบบริเวณบ่อเลี้ยงปลาด้วย
พ.อ.จุล เดช จิตถวิล หัวหน้าศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า กล่าวว่า พลโทพิเชษฐ์ วิสัยจร แม่ทัพภาคที่ 4 ได้มีการกำชับให้หน่วยทหารใน 14 จังหวัดภาคใต้ รวมทั้งจังหวัดตรัง ร่วมกันเร่งรณรงค์ให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ยึดตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเจ้าหน้าที่ทหารต้องเร่งทำความเข้าใจกับประชาชน แต่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาถือได้ว่าประชาชนให้การตอบรับเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากความรู้ที่ได้สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง และเห็นเป็นรูปธรรม

เอื้อเฝื้อข้อมูล โดย

เนื่องจากการตื่นตัวกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงนี้ จึงทำให้ทหารในหลายๆระดับ(ตั้งแต่ทัพภาคลงไป)ได้นำแนวคิดนี้มาใช้ประโยชณ์ มาทดลองแก้ไขปัญหาต่างๆกับคนในชุมชนให้รู้จักการเลี้ยงตนเองตลอดจนการแก้ปัญหาต่างๆทั้งทางตรงและทางออ้ม เป็นความรู้ที่น่าสนใจ คุณผู้อ่านก็ควรรู้เช่นกันครับ
ดูตัวอย่างเลยนะครับ(เป็นการเลี้ยงปลาของชาวบ้าน ปลาที่แนะนำคือ ปลานิล ปลาดุก ปลาหมอ ที่ทนสภาพน้ำได้ดีครับ)


ปลาดุกอุย
หรือที่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า “ปลาดุกบิ๊กอุย” เป็นปลาที่มีการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างปลาดุกรัสเซียกับปลาดุกอุย โดยใช้ปลาดุกรัสเซียเพศเมีย และปลาดึกอุยเพศผู้ ลูกปลาจะมีลักษณะไกล้เคียงกับปลาดุกอุยมาก คืออัตราการเจริญเติบโตสูง และมีความทนทานต่อโรคสูง เกษตรกรนิยมเลี้ยงกันมาก และมีการบริโภคกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีรสชาติดี ราคาก็ถูก
คุณนิรันดร์ เจริญ ยิ่ง เกษตรกร หมู่ที่ 10 บ้านท่าแซะ ต.ท่าเคย อ.ท่าฉาง จ.สุราษฎร์ธานี ได้รวมกลุ่มสมาชิกเศรษฐกิจพอเพียงชุมชน จำนวน 20 ราย โดยระดมทุนในการพัฒนาอาชีพ สร้างรายได้ ลดรายจ่าย เพื่อมาดำเนินการเลี้ยงปลาดุกอุย โดยเริ่มดำเนินการขุดบ่อปลาขนาด กว้าง 2 เมตร ยาว 4 เมตร ลึก 60 เซนติเมตร จำนวน 20 บ่อ คุณนิรันดร์ กล่าว ต่อไปว่า การเลี้ยงปลาดุกอุยครั้งแรกประสบความสำเร็จและได้ดีมีการเลี้ยงปลาในบ่อ พลาสติกจากหมู่บ้านข้างเคียงและได้ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการปรับสภาพน้ำ ของการเลี้ยงปลาดุกอุยหลายแหล่ง หลังจากนั้น ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลท่าเคยได้เชิญเจ้าหน้าที่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โรงไฟฟ้าสุราษฎร์ธานีตามโครงการชีววิถี ได้มาให้เกร็ดความรู้เรื่องการใช้ EM ในการเลี้ยงปลาดุกอุยและการเลี้ยงสัตว์

คุณนิรันดร์ กล่าวว่า การเตรียมบ่อเลี้ยงปลาครั้งแรก ใส่น้ำลงในบ่อพลาสติกประมาณ 70 ลูกบาศก์เมตร และน้ำ EM จำนวน 40 CC พร้อมน้ำเปล่า 30 ลิตร ผสมกากน้ำตาล 40 CC หมักไว้ 1 อาทิตย์ แต่ต้องใช้ให้หมดภายใน 15 วัน โดยน้ำ EM ขยายใช้แล้ว จำนวน 8 ลิตร ใส่ลงไปในบ่อพลาสติกทิ้งเอาไว้ประมาณ 4-5 วัน แล้วนำปลามาปล่อยในบ่อที่เตรียมไว้ โดยอัตราการเลี้ยง 1 บ่อ เลี้ยงปลาได้ 1,000 ตัว การใช้ EM ขยาย ใช้ 2 ลิตร/สัปดาห์ เพื่อป้องกันน้ำเน่าเสีย โดยไม่ต้องเปลี่ยนน้ำตลอดจนถึงจับจำหน่าย

การ เลี้ยงใช้เวลาในการเลี้ยงปลาประมาณ 3 เดือน (1 ปีเลี้ยงได้ 3 รุ่น) ยกเว้นช่วงฤดูหนาว เนื่องจากปลาไม่เจริญเติบโตและเกิดโรคระบาดได้ง่าย ทำในช่วงฤดูดังกล่าวถือว่าเป็นการตากบ่อทิ้งไว้สำหรับการเลี้ยงปลากรุ่นต่อ ไป การให้อาหารปลา การเลี้ยงปลา 1 รุ่น ใช้เวลา 3 เดือน อาหารเสริม (ไส้ไก่ ไก่บด) ให้อาหารสำเร็จรูปโปรตีน 2 กระสอบ โดยให้วันละ 2.5 กก./1 มื้อ/ 1,000 ตัว

วิธีป้องกันและกำจัดโรค

1) ควรใช้ EM ขยาย จำนวน 2 ลิตร/สัปดาห์

2) ชื้อพันธุ์ปลาจากแหล่งที่เชื่อถือได้ว่าเป็นปลาแข็งแรง และปราศจากโรค

3) หมั่นตรวจดูอาการของปลาอย่างสม่ำเสมอถ้าเห็นอาการผิดปกติต้องรีบหาสาเหตุและแก้ไขโดยเร็ว

4) อย่าให้อาหารจนเหลือ หรือมากเกินไป

การจับปลา เมื่อเลี้ยงปลาดุกได้ประมาณ 3 เดือน ปลาจะมีขนาด 250-300 กรัม/ตัว โดยมีอัตรารอดตาย 85-90% น้ำหนักประมาณ 212.5 กก./1 บ่อ คิดมูลค่าประมาณ 7,400-7,500 บาท ขายปลีกในกก. ละ 40 บาท และขายส่งให้พ่อค้า กก.ละ 35 บาท การลงทุน คุณนิรันดร์ กล่าวว่า การลงทุนครั้งแรก ลงทุน 1,700 บาท ซึ่งบ่อพลาสติกรองพื้นเป็นวัสดุถาวรใช้ได้นานประมาณ 2-3 ปี แผ่น ละ 350 บาท จำนวนปลา 1,000 ตัวๆ ละ 1 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท ค่าอาหารสำเร็จรูปโปรตีน จำนวน 2 กระสอบๆ ละ 380 บาท เป็นเงิน 760 บาท อาหารเสริมใช้ได้ ได้แก่ ไก่บด 60 กก. ๆ ละ 4 บาท 340 บาท ค่าสาร EM 1 ลิตรๆ ละ 80 บาท กากน้ำตาล 25 กก.ๆ ละ 10 บาท เป็นเงิน 250 บาท แต่ในการลงทุนครั้งต่อไปต้นทุนลดลงเรื่อยๆ คงเหลือแต่ซื้อพันธุ์ปลา หัวอาหารและสาร EM เท่านั้น



นายพัชรินทร์ รักษา พราหมณ์ เกษตรอำเภอท่าฉาง ให้คำแนะนำเพิ่มเติมในการเลี้ยงปลาดุกของเกษตรกรบ้านท่าแซะ เป็นแบบอย่างได้เป็นอย่างดี สำหรับการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในยุคปัจจุบันให้ใช้พื้นที่เพียง บางส่วนที่รกร้างว่างเปล่าทำให้เกิดประโยชน์และเกิดรายได้ต่อครอบครัวเป็น อย่างดี สามารถลดรายจ่ายในการบริโภคและสามารถเพิ่มรายได้ได้อีกทางหนึ่งและได้คัด เลือก ศูนย์ของคุณนิรันดร์ เจริญยิ่ง เป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการ เกษตรประจำตำบลท่าเคย

บทวิเคราะห์

จากเนื้อหาข้างต้นที่ได้หยิบยกไป ( องค์ความรู้ ปลาชนิดต่างๆ ตัวอย่างของหลักฐานของความสัมพันธ์ของปลา กับวิถีชีวิตคนไทย)ข้างต้นนั้นจะเห็นได้ว่า ปลาน้ำจืดนั้นมีความผูกพันกับวิถีชีวิตของชาวไทยมาเนิ่นนานแล้ว ขนาดที่ว่ามีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรในเรื่องต่างๆที่เกี่ยวกับปลา(ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ กาพห์เห่
ชมปลาของเจ้าฟ้ากุ้ง เป็นต้น) ทั้งนี้เพราะเมื่อก่อนการตั้งถิ่นฐานของคนไทย รวมไปถึงกิจกรรมต่างๆล้วนต้องใช้แหล่งน้ำเกือบทั้งสิ้น(การเดินทางโดยใช้เรือ อาบน้ำ ล้างภาชนะ การหาปลา ฯลฯ) ดังนั้ปลาจึงถือว่ามีความสำคัญกับสังคมไทย หลักๆคือ ในแง่ของห่วงโซ่อาหาร คุณค่าทางวัฒนธรรม ไปจนถึงเรื่องเศรษฐกิจระดับประเทศ แล้ว ไฉนเลยเล่าที่คนไทยอย่างพวกเรา จะต้องละเลยสิ่งต่างๆที่ เกี่ยวกับปลานี้ จึงเป็นเรื่องที่สำคัญในอันดับต้นๆ ที่เราควรจะต้องศึกษาให้ลึกถึงขนาดเข้าถึงแก่น เป็นเหมือนยาดีที่ตอนเราเจ็บป่วยแต่นึกไม่ถึงว่าต้องนำมาใช้(บางคนไม่เคยรู้เลยดว้ยซ้ำว่าตู้ยาที่บ้านตัวเองมียาอะไรบ้าง!) แต่ดว้ย
พระอฉริยภาพขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งให้แนวคิดเกี่ยวกับแนวคิด "เศรษฐกิจพอเพียง" เหมือนเป็นการเตือนให้เราหันกลับไปดู "ตู้ยา" บ้านเรา ว่ามียาอะไรบ้างรักษาอะไรได้บ้่าง
ผมเชื่อว่ายาดีอยู่ในตู้ยาที่บ้านของประเทศไทยนี้แหละครับช่วยกันหาหน่อยนะครับแล้วรีบมารักษาประเทศไทยที่กำลังป่วยตอนนี้ดว้ย

ปล.มันอยู่แถวๆนี้แหละช่วยกันหาหลายๆคน จะได้เจอซักที \(-_-)"

ขอบพระคุณ!



ตัวอย่างประจักษ์พยาน ความสัมพันธ์ ของปลากับสังคมไทย

กาพย์เห่ชมปลา พระนิพนธ์ในเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ (เจ้าฟ้ากุ้ง)
(เฉพาะช้าละวะเห่)

พิศพรรณปลาว่ายเคล้า คิดถึงเจ้าเศร้าอารมณ์
มัศยายังรู้ชม สมสาใจไม่พามา
นวลจันทร์เป็นนวลจริง เจ้างามพริ้งยิ่งนวลนาง
คางเบือนเบือนหน้ามา ไม่งามเท่าเจ้าเบือนชาย
เพียนทองงามดั่งทอง ไม่เหมือนน้องห่มตาดพราย
กระแหแหนห่างชาย ดังสายสวาทคลาดจากสม

จิตรกรรมฝาผนังของวัดต่างๆ



ภาพการจับปลา โดยใช้สุ่ม


ปลาอานนท์

การละเล่น การกีฬา การเลี้ยงปลาสวยงาม กิจกรรม สันทนาการของคนไทย


การตกปลาเป็นกีฬาที่นิยมในหมู่ผู้คนที่ชอบดื่มด่ำไปกับธรรมชาติ


การเล่นปลากัดสนุกสนานไม่แพ้การดูมวยและเร้าใจไปกับการพนันฝ่ายชนะเล่นกันทั้งเด็กและผู้ใหญ่

การเลี้ยงปลาสวยงาม



แค่เลี้ยงไว้เฉยๆมันสบายเกินไป ส่งเข้าประกวดเอารางวัลมันซะเรยยยย!

ละคร นิทานต่างๆ


ดู"แม่ปลาบู่ทอง" เมื่อตอนเด็กๆแล้วสงสาร "หนูเอื้อย" จังเรยยยย์อ่าาาาาาาา

เมนูอาหารรสเด็ด


ทอดมัน ดุกฟู ช่อนเผา....ซี้ดดดด เอาช้างเย็นๆ ขวดไอ้น้องงงงง!

สำนวนคำพังเพยความเชื่อต่างต่างๆ
ปลาซิวปลาสร้อย=พวกกระจอก กลุ่มพวกไร้ความสามารถ
ใจปลาซิว= ไม่กล้า,ใจเล็กเท่า_ิ๋มมด,ใจป๊อด

ปลาหมอตายเพราะปาก= คนที่เดือดร้อนเพราะคำพูดตนเอง
ปลาช่อน=อวัยวะเพศชาย
แผ่นดินไหว=ปลาอานนท์(ในพุทธศาสนาเชื่อว่ามีอยู่ใต้แผ่นทวีปและมีกัน ๗ ตัว)พลิ
กตัวเพราะมีคนชั่วในแผ่นดินเยอะเลย"หนักแผ่นดิน"ปลาจึงรำคาญพลิกตัวทำให้เกิดแผ่นดินไหว
เป็นต้น


เครื่องมือจับปลา ภูมิปัญญาไทย

สุ่ม ไซ เบ็ดราว ฯลฯ


สินค้า กับ เศรษฐกิจ

ทั้งปลาสด และสินค้าแปรรูปต่างๆ



ตัวอย่างปลาไทยพันธ์ต่างๆพร้อมคำอธิบาย


ชื่อ ปลาช่อน หลิม(เหนือ) ค้อ(อิสาน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ chana striata
ลักษณะ
มีหัวค่อนข้างโต ลำตัวปกคลุมดว้ยเกล็ดทั้งตัว สีน้ำตาลค
ล้ำ ครีบหางเรียวปลายมน ปากกว้าง มีฟัน
แหลมคม มีลายเส้นสีดำคล้ำเป็นเส้นทแยงตลอดตัว พบได้ตามแม่น้ำ หนอง คลอง บึง แหล่งน้ำเล็กๆ(ท่อน้ำตาม โรงเรียนมันยังมีเลย) ปลาช่อนไทยมีความพิเศษ คือสามารถแถกไถ
คลานไปหาแหล่งน้ำใหม่ได้โดยเฉพาะตอนฝนตก(คุณอาจจะโชคดีจับปลาช่อนได้ระหว่างเดินกลับบ้านในชนบทช่วงหัวค่ำ เพราะมันคลานได้ช้ามาก) มันสามารถมุดดินยามฝนแล้งเพื่อรอฝนได้เป็นแรมปี ชาวอีสานจะไปขุดหาปลาช่อนตามแหล่งน้ำแห้งขอด ก็หากินได้ไม่ยาก ปัจจุบันสามารถเพาะเลี้ยงในบ่อ ในกระชังได้ เป็นปลาน้ำจืดเศรษฐกิจอันดับหนึ่งในไทย โดยเฉพาะ ที่สิงห์บุรีปลาช่อนแม่น้ำเรียกว่า"ปลาช่อนแม่ลา"เนื้อแน่น ไม่เหม็นคาว(ใครไปสิงห์ฯแล้วแด้กปลาเผาเลี้ยงมันช่างโง่สาดดดดนะขอรับ) ที่สิงห์ฯมีร้านขึ้นชื่อคือ "แม่ลาปลาเผา" กินปลาเผาบวกเบียร์เย็นๆร่วมกับคนรู้ใจนี้มันสุดยอดดดดด

นิสัย อดทน ก้าวร้าว แยกกันอยู่เดี่ยว อยู่เป็นคู่ยามฤดูผสมพันธ์ พ่อปลาจะคอยเฝ้าไข่ไว้ แต่ยามที่ฟักเป็นตัวแล้วแม่ปลาจะไล่พ่อปลาไปเพราะพ่อจะกินลูกปลา
กินอาหาร ปลาเล็กรวมถึงปลารุ่นลูก ลูกกบ เขียด สัตว์น้ำขนาดเล็ก

ิ้้้
ชื่อ ปลากราย หางแพน(เหนือ) ตองกราย(อีสาน)
ชื่อวิทยาศสตร์ chitara ornata

ลักษณะ
ท้องแบน ลำตัวด้านข้างแบนมาก สันหลังสูงชันค่อยๆลาดลงไปที่หาง ตัวสีเทาเงิน ช่วงบนมีสีคล้ำกว่าด้านล่าง มีวงสีดำข้าลลำตัว ๕-๙ วง มีเกล็ดละเอียดทั่วตัว หัวเล็กมน ปากกว้าง ตาเล็ก เป็นอาหารขึ้นชื่อ ในตำราอาหารไทยคือ แกงเขียวหวานลูกชิ้นปลากราย ทอดมันปลาก
ราย นิยมมาทำเป็นลูกชิ้น เพราะเนื้อละเอียดเหนียวนุ่ม
เป็นของฝาก ขึ้นชื่อของ อยุธยาคือ หนังปลาทอด


นิสัย อยู่กันเป็นกลุ่มเล็กๆ ชอบหลบพักตามตอไม้ ซอกหินใต้น้ำ ไม่ชอบแสงสว่าง หากินกลางคืน ชอบผุดขึ้นมาที่ผิวน้ำ แล้วมว้นตัวกลับลงไปเห็นด้านข้างสีเง็น
กินอาหาร แมลงน้ำ ลูกกุ้ง ปลาเล็กๆ



ชื่อ ปลาหมอ เข็ง,สะเด็ด(อิสาน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Anabas testudineus
ลักษณะ
มีรูปร่างป้อม ลำตัวแบนข้าง ตาโต ปากกว้าง ขอบฝาปิดเหงือกหยักแข็ง เกล็ดใหญ่คลุมทั้งลำตัว มีขอบเกล็ดแบบหยัก ผิวสาก เส้นข้างลำตัวขาดตอน ครีบหลังยาวเกือบเท่าความยาวลำตัว มีก้านครีบแข็งแหลมคมจำนวนมากเช่นเดียวกับครีบก้น
แต่ครีบก้นสั้นกว่า ครีบอกเล็กเป็นรูปไข่ ครีบหางปลายมน ตัวมีสีเขียวมะกอกและมีลายประสีคล้ำที่ข้างลำตัว ครีบใส ลำตัวด้านท้องมีสีเหลือง ขอบฝาปิดเหงือกตอนบนมีแต้มสีคล้ำ มีอวัยวะช่วยหายใจเป็นแผ่นริ้วย่น ๆ อยู่ตอนบนของของช่องเหงือก
จึงสามารถฮุบอากาศจากบนผิวน้ำได้โดยตรงโดยไม่ต้องรอให้ออกซิเจนละลายในน้ำ และสามารถอยู่บนบกหรือพื้นที่ขาดน้ำได้เป็นระยะเวลานาน ๆ ซึ่งในฤดูฝนบางครั้งจะพบปลาหมอแถกเหงือกไถลคืบคลานไปบนบกเพื่อหาที่อยู่ใหม่ได้ พบได้ในทุกแหล่งน้ำ กระจายอยู่ทั่วไปใน ทุกภาค และเป็นปลาที่คนไทยรู้จัก กันเป็นอย่างดี ด้วยใช้เป็นอาหารมาช้านาน และมีความเชื่อว่าหากปล่อยปลาหมอจะทำให้ไม่เป็นโรคหรือหายจะโรคได้ ด้วยชื่อที่มีความหมายถึงหมอหรือแพทย์ผู้รักษาโรค และนิยมเลี้ยงเป็นปลาเศรษฐกิจในปัจจุบัน อีกทั้งในปลาที่มีสีกลายไปจากสีปกติ เช่น สีทองยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ที่มีราคาขายแพงอีกด้วย
นิสัย ชอบอยู่กันเป็นกลุ่ม เวลาหายใจจะขึ้นมาฮุบอากาศที่ผิวน้ำ มีพฤติกรรมการวางไข่โดยตัวผู้และตัวเมียช่วยกันปรับที่วางไข่ โดยวางไข่ลอยเป็นแพ แต่จะปล่อยให้ลูกปลาเติบโตขึ้นมาเอง
กินอาหาร กินทั้งเศษพืชและสัตว์เล็กๆ


ชื่อ ปลานวลจันทร์ พอน(อิสาน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cirrhinus microlepis
ลักษณะ มีรูปร่างลำตัวเรียวยาวทรงกระบอก หัวโต ปากและตาเล็ก เกล็ดเล็ก ปลาในเขตลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาจะมีหัวและลำตัวสีเงินอมเหลืองทอง ส่วนปลาในลุ่มแม่น้ำโขงจะ เป็นสีชมพู ครีบหลังยกสูง ครีบหางเว้าลึก ครีบก้นเล็ก
นิสัย มีพฤติกรรมวางไข่ในแหล่งน้ำหลากและเลี้ยงตัวอ่อนจนน้ำลดลงจึงอพยพลงสู่แม่น้ำ
เป็นปลาที่หายาก ปัจจุบันเชื่อว่าสูญพันธุ์ไปแล้วจากแม่น้ำเจ้าพระยา และยังพบได้บ้างที่แม่น้ำโขง
กินอาหาร อินทรียสาร สัตว์หน้าดินขนาดเล็ก แพลงก์ตอน และแมลงต่าง ๆ


ชื่อ ปลาสลิด
ชื่อวิทยาศาสตร์ Trichogaster pectoralis
ลักษณะ หัวโต ครีบหลังในตัวผู้มีส่วนปลายยื่นยาวเช่นเดียวกับครีบก้น ครีบอกใหญ่ ตาโต
ปากเล็กอยู่สุดปลายจะงอยปาก ครีบหางเว้าตื้นปลายมน ตัวมีสีเขียวมะกอกหรือสีน้ำตาลคล้ำ มีแถบยาวตามลำตัวตั้งแต่ข้างแก้มจนถึงกลางลำตัวสีดำ และมีแถบเฉียงสีคล้ำตลอดแนวลำตัวด้านข้างและหัว ครีบมีสีคล้ำ ขนาดโดยเฉลี่ย 10-16 เซนติเมตร พบขนาดใหญ่สุดถึง 25 เซนติเมตร มีถิ่นอาศัยในแหล่งน้ำนิ่งที่มีพืชน้ำและหญ้ารกริมตลิ่งของภาคกลาง ภาคอีสานและภาคใต้ของประเทศไทย
นิสัย วางไข่โดยการก่อหวอดตามผิวน้ำติดกับพืชน้ำหรือวัสดุต่าง ๆ มักวางไข่ในช่วงกลางวันแดดรำไร หลังวางไข่เสร็จแล้วตัวพ่อปลาจะเป็นผู้ดูแลไข่จนฟักเป็นตัว ตัวเมียวางไข่ครั้งละ 4,000-10,000 ฟอง
กินอาหาร
สัตว์หน้าดินขนาดเล็ก แพลงก์ตอน และแมลงต่าง ๆ
ปลาสลิดนับเป็นปลาน้ำจืดเศรษฐกิจที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งของไทย นิยมแปรรูปเป็นปลาแห้งหรีอปลาเค็มที่รู้จักกันดี โดยเกษตรกรจะเลี้ยงในบ่อดิน โดยฟันหญ้าให้เป็นปุ๋ยและเกิดแพลงก์ตอนเพื่อเป็นอาหารปลา โดยพื้นที่เลี้ยงปลาสลิดที่เป็นที่รู้จักกันดี คือ อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ที่เรียกว่า "ปลาสลิดบางบ่อ" นอกจากนี้ยังมีอีกแหล่งหนึ่งที่เคยมีชื่อในอดีต คือที่ ตำบลดอนกำยาน อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี
มีชื่อเรียกในราชาศัพท์อีกว่า "ปลาใบไม้"
ทั้งนี้เนื่องจากคำว่า "สลิด" เพี้ยนมาจากคำว่า "จริต" พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 จึงได้ทรงแนะนำให้เรียกปลาสลิดในหมู่ราชบริพารว่า ปลาใบไม้ เพราะทรงเห็นว่ามีรูปร่างเหมือนใบไม้


ชื่อ ปลาตะเพียน
ชื่อวิทยาศาสตร์ Barbonymus gonionotus
ลักษณะ มีรูปร่างเหมือนปลาในตระกูลปลาตะเพียนทั่วไป ตัวมีสีเงินแวววาว ด้านหลังมีสีคล้ำเล็กน้อย ด้านท้องสีจาง ครีบอื่น ๆ มีสีเหลืองอ่อน ปลาตะเพียนชนิดนี้นับเป็นปลาน้ำจืดที่คนไทยรู้จักดี และอยู่ในวิถีชีวิตความเป็นอยู่มาแต่โบราณ เช่น ปลาตะเพียนใบลาน มีการเลี้ยงปลาชนิดนี้ในประเทศมานานกว่า 30 ปี และถูกนำพันธุ์ไปเลี้ยงยังต่างประเทศ เช่น มาเลเซีย บอร์เนียว อินโดนีเซีย แม้ว่าในประเทศเหล่านี้จะมีปลาชนิดนี้อยู่ในธรรมชาติแล้วก็ตาม ขนาดโดยเฉลี่ย 36 ซ.ม.พบชุกชุมในทุกแหล่งน้ำทุกภาคของไทย ยกเว้นแม่น้ำสาละวิน
นิสัย อยู่กันเป็นฝูง ชอบที่น้ำไหลเป็นพิเศษ
กินอาหาร พืช แมลง สัตว์หน้าดิน บริโภคโดยการปรุงสด โดยเฉพาะตะเพียนต้มเค็ม หรือปลาส้ม นับว่าเป็นตำรับที่มีชื่อมากของปลาชนิดนี้ แต่เป็นปลาที่มีก้างมาก นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย โดยเฉพาะเลี้ยงเพื่อใช้ประโยชน์เก็บกินเศษอาหารที่ปลาใหญ่กินเหลือหรือเก็บ ตะไคร่น้ำและปรสิต


ชื่อ ปลาสวาย
ชื่อวิทยาศาสตร์ Pangasianodon hypophthalmus
ลักษณะ มีส่วนหัวค่อนข้างเล็ก แนวบริเวณหัวถึงครีบหลังลาดตรง ตาอยู่เสมอหรือสูงกว่ามุมปาก ปากแคบกว่าปลาบึก รูปร่างเพรียวแต่ป้อมสั้นในปลาขนาดใหญ่ ก้านครีบท้องมี 8 - 9 เส้น ครีบก้นยาว ปลาขนาดเล็กมีสีคล้ำเหลือบเงิน ด้านข้างลำตัวสีจางและมีแถบสีคล้ำตามยาว ครีบสีจาง ครีบหางมีแถบสีคล้ำตามแนวยาวทั้งตอนบนและล่าง ปลาขนาดใหญ่มีสีเทาหรือคล้ำอมน้ำตาล ด้านข้างลำตัวสีจาง มีขนาดประมาณ 50 ซ.ม. ใหญ่สุด 1.5 เมตร พบในแม่น้ำและลำคลองสายใหญ่ ทั่วประเทศไทย เป็นปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง ที่ซึ่งมีการเพาะเลี้ยงกันมานานกว่า 50 ปี แล้ว โดยเพาะขยายพันธุ์ได้สำเร็จในปี พ.ศ. 2509 มีฤดูวางไข่ในเดือนกรกฎาคม นิยมบริโภคโดยปรุงสดและรมควัน
นิสัย ขี้ตกใจ รักสงบ ในธรรมชาติ มักพบชุกชุมตามอุทยานปลาหรือหน้าวัดต่าง ๆ ที่ติดริมน้ำ โดยในบางพื้นที่อาจมีปลาเทโพเข้ามาร่วมฝูงด้วย และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับปลาที่สีกลายเป็นสีเผือก (Albino)
กินอาหาร กินทั้งเศษพืชและสัตว์เล็กๆ

ชื่อ ปลาเสือพ่นน้ำ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Toxotes microlepis
ลักษณะ ปลาอันดับนี้มีขนาดตั้งแต่ 15 ซ.ม. ถึง 40 ซ.ม. ปากยาว จะงอยปากยืดได้ มีลำตัวป้อม แบนข้าง ตากลมโต ครีบหลังแบ่งเป็น 2 ตอน ตอนแรกเป็นก้านครีบแข็งเป็นเงี่ยง 4-5 ชิ้น ตอนหลังเป็นครีบอ่อน เกล็ดเป็นแบบสาก (Ctenoid)อาศัยทั้งน้ำจืดและน้ำกร่อย พบมากบริเวณปากแม่น้ำหรือแถบชายฝั่ง
นิสัย อาศัยเป็นฝูง หากินบริเวณผิวน้ำ เป็นปลากินเนื้อ มีความสามารถพิเศษคือ พ่นน้ำได้ไกลถึง 1-2 เมตร เพื่อยิงแมลงให้ตกลงน้ำเป็นอาหาร สมชื่อ "ปลานักยิงธนู" (Archer Fish) ถ้าแมลงยังไม่ตก จะยิงซ้ำสำเร็จ สามารถเปลี่ยนพิกัดมุมยิงได้อีกด้วย
นอกจากนี้ยังสามารถกระโดดขึ้นงับเหยื่อเหนือน้ำได้สูงถึง 1 ฟุต วางไข่ในฤดูฝนแถบชายฝั่งทะเลหรือปากแม่น้ำ โดยมีจำนวนตั้งแต่ 20,000-150,000 ฟอง ไข่มีขนาด 0.4 ม.ม.
กินอาหาร แมลง ลูกปลา ลูกกุ้งขนาดเล็ก

นี่แค่ตัวอย่างนะครับ สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/ปลา นะครับ
มาดูลีลาของปลาเสือพ่นน้ำกันครับ





เวลาว่างๆก็เข้ามาติชมได้นะครับ

องค์ความรู้

ปลา
เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำส่วนใหญ่เป็นสัตว์เลือดเย็น หายใจด้วยเหงือก มีกระดุูกสันหลัง สามารถเคลื่อนไหวไปมาด้วยครีบ กล้ามเนื้อของลำตัว บางชนิดมีเกล็ดปกคลุมทั่วตัว บางชนิดไม่มีเกล็ดแต่ปกคลุมด้วยเมือกลื่น ๆ หรือแผ่นกระดูก มีหัวใจสองห้องปากมีขากรรไกรและฟัน ปลามีหลากหลายสายพันธุ์ มีการดำรงชีวิตต่างกัน กระจายตามแหล่งน้ำทุกที่ทั่วโลก
ปลาน้ำจืดตามแหล่งน้ำของไทย
เป็นปลาที่มีแหล่งกำเนิด ที่ประเทศไทย มีหลายชนิดหลายสายพันธ์ มีการดำรงชีวิตแตกต่างกัน บางชนิด สามารถมุดอยู่ในดินได้ บางชนิดกินพืช กินสัตว์น้ำเล็ก กินปลาดว้ยกันเอง บ้างก็พ่นน้ำใส่เหยื่อแมลงเล็กเหนือพื้นน้ำให้ตกลงมาในน้ำ เป็นต้น ก็เนื่องมาจากสภาพแวดล้อมต่างๆ และ คนไทย ตั้งแต่โบราณมีความผูกพัน กับแหล่งน้ำทั้ใช้อุปโภค บริโภค ดังนั้น ปลา จึงเป็นอาหารที่สำคัญอย่างหนึ่งคนไทยมาช้านาน มีการตั้งชื่อกันต่างๆนาๆ ปลาชนิดเดียวกันบ้างก็เรียกต่างกันตามแต่ละพื้นที่ ปลามีความสำคัญในทุกๆแห่งของคนไทยตั้งแต่ เรื่อง อาหาร เป็นวัตถุดิบต่างๆ เศรษฐกิจ ไปจนถึง วิถีชีวิต ภูมิปัญญา ระบบนิเวศ วรรณกรรม จิตรกรรม ฯลฯ
อันมีหลักฐานเป็น ประจักษ์พยาน ตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบันเป็นอันมาก เช่น เครื่องมือจับปลา ตำราอาหารไทย การค้าขายปลา บทเห่ชมปลาของเจ้าฟ้า
ธรรมธิเบศร์ ละครเรื่องปลาบู่ทอง การเล่นปลากัด สำนวนต่าง
ๆ ฯลฯ เหล่านี้ ก็เป็นตัวอย่างที่ท่านอาจเคยพบมาบ้าง แสดงถึงความเป็นหลักฐานได้เป็นอย่างดี
ดังนั้นมัน ก็ควรมีคุณค่าพอที่ท่านจะต้องรับรู้ !



บทนำ "เหตุที่เขียน"

เป็น Blog ที่เขียนขึ้นเพื่อถ่ายทอดความรู้เรื่อง ปลาไทย ตามธรรมชาติ ทีกลั่นมาจากความตั้งใจ และ กระตุ้นความอยากอนุรักษ์ ผ่านบทความ ที่สั่งสม Valueทางสังคม ของผู้เขียนไว้ อยู่บ้าง
ดังนั้น บทความนี้ไม่ใช่ให้เชื่อ แต่ต้องการให้คุณมีความรู้ อยากให้คุณผู้อ่านไปเรียนรู้และสัมผัสกับบางสิ่ง
ที่คุณไม่อาจได้รับในห้องเรียน Blogนี้จะพาคุณไปเปิดหูเปิดตา(แต่อย่าเปิด ตูด!) กับเรื่องของปลาเล็กๆในBlogของคนเขียน(ตัวใหญ่ๆ)คนนี้นะครับ


\ (>w<) /
WWWWWWWWWWWWWWWWWWWWWWW
"น้ำทว่มแล้วโว้ย! ดูปลากันหน่อยว้อยยย ดูปลากันเร้วววว"

ประวัติของผู้เขียน

ชื่อ นนร.ปณิธาน คุณมี (โจโจ้)
การศึกษา
ชั้น ม.๓ รร.วินิตศึกษาในพระราชูปถัมภ์ (ลพบุรี)
ชั้น ม.๔ รร.พิบูลวิทยาลัย (ลพบุรี)
โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ ๔๘
โรงเรียนนายร้อยพระจุลยอมเกล้า รุ่นที่ ๕๙
ภูมิลำเนา
๓๐๓/๑๐๐๕๐๑๐ ศูนย์การบินทหารบก ต.เขาพระงาม จ.ลพบุรี

๑๕๑๖๐
เกิด อาทิตย์ ๓๐ ส.ค. ๒๕๓๐
ติดต่อ (มาคุยกันได้นะครับ) [085-9525502]
(ขอใช้เลขอราบิกเพื่อความจำง่ายครับ)
ความสามรถพิเศษ บ่นเก่ง เพ้อเจ้อเก่ง อยากรู้อยากเห็น กล้าได้กล้าเสีย
ชอบคุยกับคนแปลกหน้า(ยิ่งทำตัวลึกลับข้ายิ่งชอบ)
ผู้ถือคติ
๑.เล็กๆโจ้ไม่ ใหญ่ๆโจ้ทำ

๒.โจโจ้ชอบของใหญ่
๓.ความผิดพลาดในวันนี้ เป็นพลังขับดันในวันต่อไป ชีวิตไม่สิ้น
ก็ดิ้นให้มันตายกันไปข้าง

ชื่อรูป "สามช่า" คนซ้ายน่ะกระผมเอง

นี่เป็นตอนที่ผม หล่อที่สุดแล้ว