แนวทางการเลี้ยงปลาน้ำจืดแบบเศรษฐกิจพอเพียง(ทหารกับการพัฒนา)



กอง อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) ภาค 4 ส่วนหน้า นำคณะเจ้าหน้าที่ออกไปพบปะประชาชนและนักเรียน ในพื้นที่ตำบลในเตา อำเภอห้วยยอด เพื่อแนะนำความรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำรัสในหลวง
เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2552 พ.อ.จุลเดช จิตถวิล หัวหน้าศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจ
พอเพียง กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) ภาค 4 ส่วนหน้า ได้นำคณะเจ้าหน้าที่ในสังกัด พร้อมด้วยทหารจากกองพันทหารราบที่ 4 กองร้อยทหารราบที่ 15 ค่ายพระยารัษฎานุประดิษฐ์ จังหวัดตรัง ออกไปพบปะประชาชนและนักเรียน ในพื้นที่ตำบลในเตา อำเภอห้วยยอด เพื่อแนะนำความรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระองค์ทรงตระหนักว่า อาชีพหลักของประชาชนชาวไทย คือ อาชีพทางด้านการเกษตร เนื่องจากสภาพภูมิอากาศ และภูมิประเทศที่มีความเหมาะสมกว่าอาชีพอื่น
นอก จากนั้น โครงการเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพร
ะเจ้าอยู่หัว ยังเป็นการช่วยให้ประชาชนรู้จักอดออม ช่วยเหลือตนเอง และพออยู่พอกิน ด้วยการทำเกษตรกรรมแบบผสมผสานในการหาเลี้ยงตนเองและครอบครัวโดยการพึ่งพาตน เอง ซึ่งกำลังทหารจากศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ได้ให้ความรู้กับชาวบ้านในการทำปุ๋ยชีวภาพ เพื่อเป็นการลดต้นทุนในการซื้อปุ๋ยเคมี นอกจากนี้ ยังมีการให้ความรู้ในเรื่องของการเลี้ยงปลาในบ่อพลาสติก การเลี้ยงกบในบ่อเล็ก การเลี้ยงไก่พื้นเมือง และการปลูกพืชผักสวนครัวรอบบริเวณบ่อเลี้ยงปลาด้วย
พ.อ.จุล เดช จิตถวิล หัวหน้าศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า กล่าวว่า พลโทพิเชษฐ์ วิสัยจร แม่ทัพภาคที่ 4 ได้มีการกำชับให้หน่วยทหารใน 14 จังหวัดภาคใต้ รวมทั้งจังหวัดตรัง ร่วมกันเร่งรณรงค์ให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ยึดตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเจ้าหน้าที่ทหารต้องเร่งทำความเข้าใจกับประชาชน แต่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาถือได้ว่าประชาชนให้การตอบรับเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากความรู้ที่ได้สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง และเห็นเป็นรูปธรรม

เอื้อเฝื้อข้อมูล โดย

เนื่องจากการตื่นตัวกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงนี้ จึงทำให้ทหารในหลายๆระดับ(ตั้งแต่ทัพภาคลงไป)ได้นำแนวคิดนี้มาใช้ประโยชณ์ มาทดลองแก้ไขปัญหาต่างๆกับคนในชุมชนให้รู้จักการเลี้ยงตนเองตลอดจนการแก้ปัญหาต่างๆทั้งทางตรงและทางออ้ม เป็นความรู้ที่น่าสนใจ คุณผู้อ่านก็ควรรู้เช่นกันครับ
ดูตัวอย่างเลยนะครับ(เป็นการเลี้ยงปลาของชาวบ้าน ปลาที่แนะนำคือ ปลานิล ปลาดุก ปลาหมอ ที่ทนสภาพน้ำได้ดีครับ)


ปลาดุกอุย
หรือที่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า “ปลาดุกบิ๊กอุย” เป็นปลาที่มีการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างปลาดุกรัสเซียกับปลาดุกอุย โดยใช้ปลาดุกรัสเซียเพศเมีย และปลาดึกอุยเพศผู้ ลูกปลาจะมีลักษณะไกล้เคียงกับปลาดุกอุยมาก คืออัตราการเจริญเติบโตสูง และมีความทนทานต่อโรคสูง เกษตรกรนิยมเลี้ยงกันมาก และมีการบริโภคกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีรสชาติดี ราคาก็ถูก
คุณนิรันดร์ เจริญ ยิ่ง เกษตรกร หมู่ที่ 10 บ้านท่าแซะ ต.ท่าเคย อ.ท่าฉาง จ.สุราษฎร์ธานี ได้รวมกลุ่มสมาชิกเศรษฐกิจพอเพียงชุมชน จำนวน 20 ราย โดยระดมทุนในการพัฒนาอาชีพ สร้างรายได้ ลดรายจ่าย เพื่อมาดำเนินการเลี้ยงปลาดุกอุย โดยเริ่มดำเนินการขุดบ่อปลาขนาด กว้าง 2 เมตร ยาว 4 เมตร ลึก 60 เซนติเมตร จำนวน 20 บ่อ คุณนิรันดร์ กล่าว ต่อไปว่า การเลี้ยงปลาดุกอุยครั้งแรกประสบความสำเร็จและได้ดีมีการเลี้ยงปลาในบ่อ พลาสติกจากหมู่บ้านข้างเคียงและได้ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการปรับสภาพน้ำ ของการเลี้ยงปลาดุกอุยหลายแหล่ง หลังจากนั้น ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลท่าเคยได้เชิญเจ้าหน้าที่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โรงไฟฟ้าสุราษฎร์ธานีตามโครงการชีววิถี ได้มาให้เกร็ดความรู้เรื่องการใช้ EM ในการเลี้ยงปลาดุกอุยและการเลี้ยงสัตว์

คุณนิรันดร์ กล่าวว่า การเตรียมบ่อเลี้ยงปลาครั้งแรก ใส่น้ำลงในบ่อพลาสติกประมาณ 70 ลูกบาศก์เมตร และน้ำ EM จำนวน 40 CC พร้อมน้ำเปล่า 30 ลิตร ผสมกากน้ำตาล 40 CC หมักไว้ 1 อาทิตย์ แต่ต้องใช้ให้หมดภายใน 15 วัน โดยน้ำ EM ขยายใช้แล้ว จำนวน 8 ลิตร ใส่ลงไปในบ่อพลาสติกทิ้งเอาไว้ประมาณ 4-5 วัน แล้วนำปลามาปล่อยในบ่อที่เตรียมไว้ โดยอัตราการเลี้ยง 1 บ่อ เลี้ยงปลาได้ 1,000 ตัว การใช้ EM ขยาย ใช้ 2 ลิตร/สัปดาห์ เพื่อป้องกันน้ำเน่าเสีย โดยไม่ต้องเปลี่ยนน้ำตลอดจนถึงจับจำหน่าย

การ เลี้ยงใช้เวลาในการเลี้ยงปลาประมาณ 3 เดือน (1 ปีเลี้ยงได้ 3 รุ่น) ยกเว้นช่วงฤดูหนาว เนื่องจากปลาไม่เจริญเติบโตและเกิดโรคระบาดได้ง่าย ทำในช่วงฤดูดังกล่าวถือว่าเป็นการตากบ่อทิ้งไว้สำหรับการเลี้ยงปลากรุ่นต่อ ไป การให้อาหารปลา การเลี้ยงปลา 1 รุ่น ใช้เวลา 3 เดือน อาหารเสริม (ไส้ไก่ ไก่บด) ให้อาหารสำเร็จรูปโปรตีน 2 กระสอบ โดยให้วันละ 2.5 กก./1 มื้อ/ 1,000 ตัว

วิธีป้องกันและกำจัดโรค

1) ควรใช้ EM ขยาย จำนวน 2 ลิตร/สัปดาห์

2) ชื้อพันธุ์ปลาจากแหล่งที่เชื่อถือได้ว่าเป็นปลาแข็งแรง และปราศจากโรค

3) หมั่นตรวจดูอาการของปลาอย่างสม่ำเสมอถ้าเห็นอาการผิดปกติต้องรีบหาสาเหตุและแก้ไขโดยเร็ว

4) อย่าให้อาหารจนเหลือ หรือมากเกินไป

การจับปลา เมื่อเลี้ยงปลาดุกได้ประมาณ 3 เดือน ปลาจะมีขนาด 250-300 กรัม/ตัว โดยมีอัตรารอดตาย 85-90% น้ำหนักประมาณ 212.5 กก./1 บ่อ คิดมูลค่าประมาณ 7,400-7,500 บาท ขายปลีกในกก. ละ 40 บาท และขายส่งให้พ่อค้า กก.ละ 35 บาท การลงทุน คุณนิรันดร์ กล่าวว่า การลงทุนครั้งแรก ลงทุน 1,700 บาท ซึ่งบ่อพลาสติกรองพื้นเป็นวัสดุถาวรใช้ได้นานประมาณ 2-3 ปี แผ่น ละ 350 บาท จำนวนปลา 1,000 ตัวๆ ละ 1 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท ค่าอาหารสำเร็จรูปโปรตีน จำนวน 2 กระสอบๆ ละ 380 บาท เป็นเงิน 760 บาท อาหารเสริมใช้ได้ ได้แก่ ไก่บด 60 กก. ๆ ละ 4 บาท 340 บาท ค่าสาร EM 1 ลิตรๆ ละ 80 บาท กากน้ำตาล 25 กก.ๆ ละ 10 บาท เป็นเงิน 250 บาท แต่ในการลงทุนครั้งต่อไปต้นทุนลดลงเรื่อยๆ คงเหลือแต่ซื้อพันธุ์ปลา หัวอาหารและสาร EM เท่านั้น



นายพัชรินทร์ รักษา พราหมณ์ เกษตรอำเภอท่าฉาง ให้คำแนะนำเพิ่มเติมในการเลี้ยงปลาดุกของเกษตรกรบ้านท่าแซะ เป็นแบบอย่างได้เป็นอย่างดี สำหรับการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในยุคปัจจุบันให้ใช้พื้นที่เพียง บางส่วนที่รกร้างว่างเปล่าทำให้เกิดประโยชน์และเกิดรายได้ต่อครอบครัวเป็น อย่างดี สามารถลดรายจ่ายในการบริโภคและสามารถเพิ่มรายได้ได้อีกทางหนึ่งและได้คัด เลือก ศูนย์ของคุณนิรันดร์ เจริญยิ่ง เป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการ เกษตรประจำตำบลท่าเคย